27
ข้อเสนอของพัฒนาการระบบมหาลัยหลัง 1970 โดย Gerald Raunig
จากหนังสือ
Factories of Knowledge: Industries of Creativity (Semiotext(e), 2013), pp. 31-9.
1. ระบบมหาวิทยาลัยเริ่มหมกมุ่นกับ
"ระบบการประเมินหลักสูตรการเรียนการสอน" ที่ซับซ้อนและใช้ไม่ได้จริง
2. มหาวิทยาลัยนำระบบการคำนวณแบบธุรกิจเข้ามาใช้คิดกับต้นทุนแลกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ
3.
การคำนวณต้นทุนกำไรแบบบ้าคลั่งทำให้ค่าเทอมสูงขึ้นอย่างหลีกไม่ได้
และสภาวะที่นักศึกษากลายเป็น "ลูกหนี้" ก่อนจะเรียนจบ
กำลังเป็นปรากฎการณ์ทั่วไป
4. หลายมหาวิทยาลัยเชิญชวนให้นักศึกษานำเงินเก็บมาลงทุนกับมหาวิทยาลัยในฐานะผู้ถือหุ้น
5.
มีการนำระบบการควบคุมนักศึกษาที่เข้มงวดซึ่งเดิมถูกใช้ในโรงเรียนมาใช้กับนักศึกษามหาวิทยาลัย
หรือแม้แต่อาจารย์
6. คำขวัญว่าด้วย "เตรียมตัวหางาน"
กลายเป็นการลดทอนการความรู้ให้เป็นเพียงการกดดันเพื่อจะหางานทำและตอบสนองตลาดแรงงานให้ได้
7.
มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งนำเข้าระบบการประเมินผลการเรียนและพฤติกรรมนักศึกษาแบบยิบย่อย
เช่น การประเมินในชั้นเรียน และสอดส่องพฤติกรรมนอกห้องเรียน
8. ข้ออ้างที่ว่า
การมอบอำนาจในการบริหารทั้งหมดให้ผู้บริหารคณะและสาขาคือประชาธิปไตยนั้นบดบังการมีส่วนร่วมของพนักงานระดับกลางและระดับล่าง
โดยยังคงให้อำนาจกับผู้บริหารในการตัดสินความดีความชอบของพนักงานโดยไม่มีมาตรฐานชัดเจน
9. "ความเป็นอิสระ"
ของมหวิทยาลัยที่มักจะอ้างกันเมื่อแปรรูปกิจการมหาวิทยาลัยแล้วเป็นเพียงภาพลวงตา
เพราะพนักงานทั่วไปไม่ได้มีอิสรภาพจริง ผู้บริหารเท่านั้นที่มีอิสรภาพ
10. มหาวิทยาลัยหลายแห่งหมกมุ่นกับ
"ความเป็นเลิศของการวิจัย" ในขณะที่ก็ไม่ได้ลดชั่วโมงการสอนลง
ทำให้คนทำงานต้องแบกรับภาระทั้งงานสอนที่หนักและต้องแข่งกันทำวิจัย
11.
มีการสร้างระบบการประเมินความก้าวหน้างานวิจัยแบบตายตัวและไม่ยืดหยุ่น
รวมถึงมหาวิทยาลัยมักจะใช้ตัวชี้วัดว่างานวิจัยมีองค์กรหรือสถาบันจากภายนอกให้ทุนวิจัยมากน้อยแค่ไหน
12.
อาจารย์มหาวิทยาลัยถูกผูกด้วยการสร้างลิสต์อันยาวเหยียดในประวัติการทำงาน (resume)
ของตัวเอง เพื่อใช้ในการถูกประเมินทั้งจากมหาวิทยาลัยและแหล่งทุน
13.
มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มผูกขาดรูปแบบการเขียนงานให้เหลือเพียงไม่กี่แบบ
เพราะง่ายต่อการประเมิน
14.
รูปแบบการเขียนงานที่ว่ามักจะถูกครอบด้วยวิธีการของสายวิทยาศาสตร์
โดยไม่สนใจความรู้และวิธีการแบบอื่นๆ
15.
ระบบการประเมินผลงานและงานเขียนถูกจำกัดด้วยอำนาจของ "วารสารวิชาการ"
ที่กำลังมีอิทธิพลและผูกขาดการขายและเผยแพร่งานวิชาการ
16. การครอบงำของวารสารวิชาการ
"ภาษาอังกฤษ"
ทำให้มหาวิทยาลัยในประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกษไม่ให้คุณค่ากับงานที่พิมพ์ในภาษาอื่นๆ
17.
วารสารวิชาการเป็นผู้มีอำนาจในการผูกขาดลิขสิทธิ์งานเขียนของผู้เขียน
เมื่อส่งบทความให้วารสารแล้ว ผู้เขียนก็หมดสภาพความเป็นเจ้าของ
18.
มหาวิทยาลัยนำระบบการประเมินการทำงานแบบองค์กรธุรกิจเข้ามาใช้
เน้นการวัดประสิทธิภาพการทำงานในเชิงปริมาณมากกว่าดูคุณภาพ
19.
เราจึงเห็นมหาวิทยาลัยจำนวนมากเลือกใช้ตัวชี้วัดทางสถิติเข้ามาคำนวณสิ่งต่างๆ
อย่างบ้าคลั่ง
20.
ในขณะที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งอ้างว่าตัวเองให้ความสำคัญกับการผลิตความรู้
แต่กลับใช้ระบบการจ้างงานแบบยืดหยุ่นและทำให้พนักงานไม่มั่นคง
21.
เมื่อประเมินคุณค่าของงานวิจัยหรือการสอนก็มักจะถามว่า สอนไปแล้ว
นักศึกษาจะหางานทำได้หรือไม่ หรือจะนำไปขายกับใครได้
22.
เมื่อมหาวิทยาลัยที่ถูกแปรรูปเป็นเอกชนจำนวนมากจะจ้างนักธุรกิจ ซีอีโอ
และหน่วยงานภายนอกเข้ามาเป็นที่ปรึกษาหรือช่วยบริหาร
ซึ่งไม่ยึดโยงกับคนทำงานและนักศึกษา
23.
เมื่อมหาวิทยาลัยต้องหาเงินเองภายหลังถูกแปรรูปแล้ว มหาวิทยาลัยมักจะเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจ
แบรนด์สินค้าต่างๆ เข้ามาลงทุนหรือใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย
เพราะเป็นช่องทางหนึ่งที่มหาวิทยาลัยจะได้รายได้เป็นกอบเป็นกำ
24. ข้ออ้างว่า
"รัฐถอนตัวจากการศึกษาแล้ว" ไม่เป็นความจริง เพราะการแปรรูปการศึกษา
และการกำกับหลักสูตรต่างๆยังคงอยู่ในการควบคุมของรัฐ
25. เมื่อมหาวิทยาลัยต้องหาเงินเอง
มหาวิทยาลัยจำนวนมากต้องแปรตัวเองเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ย่อมๆ
หรือองค์กรธุรกิจย่อมๆ เพื่อหาทางแปรโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยให้เป็นรายได้
ดังที่เราจะเห็นว่าพื้นที่หลายส่วนของมหาวิทยาลัยถูกแปรเป็นหน่วยธุรกิจย่อมๆ
หรือห้างสรรพสินค้า
26. ข้ออ้างว่ามหาวิทยาลัยต้อง
"โกอินเตอร์" โดยใช้วิธีการเปิดหลักสูตรภาษาต่างประเทศ
โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นเรื่องโกหก เพราะเป้าหมายจริงก็คือ
นำทรัพยากรของมหาวิทยาลัยไปใช้กับคนที่มีเงินจ่าย ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่ใช่นักศึกษา
"อินเตอร์" แต่เป็นนักศึกษาในประเทศที่มีปัญญาจ่าย และกีดกันคนจนออกไ
27.
มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่งจะขายหลักสูตรและชื่อของตัวเองให้มหาวิทยาลัยเล็กๆในประเทศโลกที่สาม
เพื่อนำชื่อมาใช้เปิดหลักสูตรที่ดูอินเตอร์ โดยไม่สนใจความจำเป็นหรือความต้องการ
รวมถึงความสามารถในการจ่ายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเล็กๆ
นี่คือสภาวะอาณานิคมทางความรู้แบบใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น